วันอาทิตย์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

นครหลวงเวียงจันทน์
นครหลวงเวียงจันทน์ เป็นเมืองหลวงของประเทศลาว ก่อนหน้านี้เรียกว่า "กำแพงนครเวียงจันทน์" นครหลวงเวียงจันทน์มีสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจหลายแห่ง ได้แก่
พระธาตุหลวง  เป็นพระธาตุใหญ่และสวยงามที่สุดในสปป.ลาว สร้างโดยช่างโบราณลาว มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ ศิลปะ วัฒนธรรมและเป็นตัวแทนของสถาปัตยกรรมของลาว ล้านช้าง ด้านหน้ามีอนุสาวรีย์พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ประดิษฐานอยู่ ส่วนองค์พระธาตุหลวงเหลืองอร่ามดุจทองที่ปรากฏด้านหลังอนุสาวรีย์นั้น เป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ในแต่ละปีจะมีงานนมัสการพระธาตุหลวงที่ยิ่งใหญ่ในคืนเพ็ญเดือน 12 ถือเป็นงานยิ่งใหญ่ระดับชาติ
วัดองตื้อ  สร้างขึ้นสมัยคริสตศตวรรษที่ 16 (ค.ศ.) ภายหลังที่เจ้าไชยเชษฐาธิราชสร้างเมืองเเวียงจันทน์ 6 ปี สันนิษฐานว่าสร้างครอบวังเก่าในสมัยขอม แต่ก่อนเรียก "วัดไชยะพูม" เมื่อมีพระพุทธรูปองตื้อมาประดิษฐานที่นี้ คนทั้งหลายจึงเรียกว่า "วัดองตื้อ"
วัดสีสะเกด  สร้างเมื่อ พ.ศ. 2361 (ค.ศ.1818) ตามคำสั่งของเจ้าอนุวงศ์แห่งราชอาณาจักรล้านช้าง วัดนี้ตั้งอยู่ติดกับพระราชวังหลวงด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นวัดที่มีความหมายทางประวัติศาสตร์ เนื่อจากเป็นวัดเก่าแก่ในนครหลวงเวียงจันทน์ที่ไม่ถูกทำลายจากสงคราม ลักษณะพิเศษของวัดนี้อยู่ที่ความอลังการของพระพุทธรูป 6,840 องค์ ที่ฝังอยู่ตามช่องกำแพง
ประตูชัย  เป็นอนุสรณ์สถานและเป็นสัญลักษณ์ของนครหลวงเวียงจันทน์ สร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1962 ตั้งอยู่บนถนนล้านช้าง นักท่องเที่ยวสามารถขึ้นบันไดไปบนอนุสาวรีย์เพื่อชมทิวทัศน์ของตัวเมืองนครหลวงเวียงจันทน์ได้
นอกจากนี้ยังมีสถานที่ที่น่าสนใจอื่นๆ อีก เช่น วัดสีเมือง ตลาดเช้า พิพิธภัณฑ์ไกสอนพมวิหาร เขื่อนน้ำงึม

หลวงพระบาง
ตั้งอยู่ทางภาคเหนือของลาว ห่างจากนครหลวงเวียงจันทน์ 420 กิโลเมตร เป็นศูนย์กลางและเมืองหลวงแห่งอาณาจักรล้านช้าง ในช่วงศตวรรษที่ 13-16 รุ่งเรืองด้วยวัดวาอารามที่งามวิจิตร บ้านช่องได้รับอิทธิพลจากศิลปะแบบโคโลเนียล (Colonail) ของฝรั่งเศส ด้วยเหตุนี้หลวงพระบางจึงได้รับการยกย่องจาก UNESCO ให้เป็นเมืองมรดกโลกเมื่อปี ค.ศ.1995 มีสถานที่ท่องเที่ยว ได้แก่ วัดเชียงของ พระธาตุจอมพูสี วัดวิซุน วัดแสนสุขาราม หอพิพิธภัณฑ์ พระราชวังเก่าหลวงพระบาง ถ้ำติ่ง น้ำตกตาดกวางสี

จำปาสัก
แขวงจำปาสัก เป็นหนึ่งในจำนวนศูนย์กลางทางศิลปวัฒนธรรม การเมือง เศรษฐกิจภาคใต้ของลาว ในอดีตหลายร้อยปีที่ผ่านมาเคยเป็นแขวงที่ลือชื่อในสมัยขอมโบราณ และเป็นดินแดนแห่งอาณาจักรล้านช้างที่เต็มไปด้วยศิลปวัฒนธรรมเก่าแก่ สถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจ ได้แก่ ปราสาทหินวัดพู (แหล่งมรดกโลก) น้ำตกคอนพะเพ็ง น้ำตกหลี่ผี

เชียงขวาง
แขวงเชียงขวางตั้งอยู่ทางภาคเหนือของลาว และสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียง คือ ทุ่งไหหิน อยู่ห่างจากเมืองโพนสะหวันซึ่งเป็นเมืองเอกของแขวงออกไปประมาณ 8 กิโลเมตร มีไหน้อยใหญ่ที่สร้างจากหินจำนวนมากกระจายไปทั่วเขตภูเพียง เชียงขวาง โดยไหหินที่มีขนาดใหญ่ที่สุดสูงถึง 3.25 เมตร ปากกว้าง 3 เมตร
สะหวันนะเขต
แขวงสะหวันนะเขต เป็นแขวงที่อุดมไปด้วยศิลปวัฒนธรรม มีโบราณสถานที่เก่าแก่ บรรจุศิลปะลวดลายแบบขอม ซึ่เชื่อกันว่าสร้างในศตวรรษที่ 11 ได้แก่ หอเทวาลัย บ้านเฮือนหิน เมืองสองคอน และธาตุกู่บ้านนาคู เมืองจำพอน และที่เด่นไปกว่านั้น คือ พระธาตุฮิงฮัง วัดหนองลำจัน วัดบ้านชะคืนใต้ วัดท่าโสน วัดไชยะพูม และวัดจำพอน

วังเวียง
เมืองวังเวียงเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงมากที่สุดแห่งหนึ่งของ สปป.ลาวตั้งอยู่ห่างจากนครหลวงเวียงจันทน์ไปทางทิศเหนือ 150 กม. เป็นแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติที่สวยงาม ถูกล้อมรอบด้วยภูเขาตั้งเรียงรายตามลำน้ำซอง สามารถล่องเรือชมธรรมชาติและยังมีถ้ำต่างๆ ให้ชมอีกมากมาย อาทิ ถ้ำจัง ถ้ำปูคำ ถ้ำนอนฯลฯ เมืองวังเวียงจึงเป็นสถานที่เหมาะอย่างยิ่งสำหรับการพักผ่อนอย่างแท้จริง    
พงสาลี
ตั้งอยู่เหนือสุดของประเทศ มีอาณาเขตติดต่อกับจีน เวียดนาม เป็นแหล่งรวมของชนเผ่าต่าง ๆ มากมาย ได้แก่ ไทดำ ไทแดง เย้า ไทลือ ขมุ ฯลฯ ซึ่งแต่ละเผ่ามีภาษาและวัฒนธรรมเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของตนเอง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเครื่องแต่งกาย งานหัตถกรรม เครื่องเงินและอัญมณี ดังนั้นสิ่งที่น่าสนใจของพงสาลีจึงอยู่ที่ความแตกต่างของแต่ละชนเผ่าซึ่งเป็นประชากรหลักของที่นี่
หลวงน้ำทา
มีสถานที่ท่องเที่ยวน่าสนใจหลายแห่งด้วยกัน ที่เลื่องชื่อก็คือป่าสงวนแห่งชาติน้ำฮ้า (Nam Ha) อยู่ห่างออกไปทางตะวันตกเฉียงใต้ โดยมี NBCA-National Biodiversity Conservation Area ทำหน้าที่คุ้มครองพันธุ์สัตว์ป่าเขตร้อนครอบคลุมถึง 99% ของพื้นที่ทั้งหมด สัตว์ป่าที่มีมากในเขตนี้ก็คือ หมาป่า เสือ เสือดาว หมี ชะนี และพันธุ์นกขนาดใหญ่ เป็นต้น
อุดมไชย
ที่นี่คือแหล่งรวมชนเผ่ากลุ่มเล็กกลุ่มน้อยถึง 23 เผ่า เช่น ม้ง อีก้อ ขมุ การเดินทางมาเที่ยวอุดมไชย นักท่องเที่ยวจะได้พบกับการต้อนรับด้วยประเพณีท้องถิ่นดั้งเดิมที่แต่ละเผ่ารักษาไว้มานานกว่า 2,000 ปี และนี่เองที่เป็นสีสันของการมาแขวงอุดมไชย
บ่อแก้ว
" บ่อแก้ว " หมายถึง ดินแดนแห่งเมืองบ่อพลอย อัญมณี หรือที่ชาวลาวเรียกว่า "แก้วประเสริฐ" เหตุเพราะพื้นที่ส่วนใหญ่ของบ่อแก้วอุดมด้วยแร่ธาตุสำคัญไม่ว่าจะเป็น ทอง แร่อัญมณีต่าง ๆ อันเป็นแหล่งสร้างรายได้แก่รัฐและชาวเมืองบ่อแก้วมาจนบัดนี้

ประเทศลาวแหล่งท่องเที่ยว



การแต่งกายของชาวลาว

วันจันทร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2556

อาหารประจำชาติ

ซุปไก่ (Chicken Soup) เป็นอาหารยอดนิยมของลาว มีส่วนผสมสำคัญ ได้แก่ ตะไคร้ ใบสะระแหน่ 


                 กระเทียม  หอมแดง รวมถึงรสชาติเปรี้ยว ๆ เผ็ด ๆ จากมะนาวและพริก รับประทานร้อน ๆ กับข้าวเหนียว

สัตว์ประจำชาติของประเทศลาว

สัตว์ประจำชาติของประเทศลาวเป็นช้างอินเดีย ลาวเป็นที่รู้จักกันในฐานะอดีตล้านช้างหรือดินแดนแห่งล้านช้าง แต่วันนี้มีน้อยเป็น 1,500 รวมทั้งช้างป่าและในประเทศลาวโดด
 ชื่อพื้นเมือง        จำปา
                          ลักษณะทั่วไป    เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง เนื้อไม่อ่อน แตกกิ่งเป็นแฉก เป็นง่ามกระจายออกทำ  
                                                    ให้เกิดทรงพุ่มใหญ่ กิ่งเปราะง่าย  ทิ้งใบในฤดูแล้งแล้วผลิดอกและใบรุ่นใหม่  
                                                    ในช่วงเดือนเมษายนเป็นต้นไป                          ใบ                      มีใบใหญ่โตเป็นหอก ใบแข็งมีสีเขียวเข้ม
                          ดอก                   ดอกเป็นช่อ ถ้าต้นสมบูรณ์ดี ช่อหนึ่งจะมีดอกหลายสิบดอกเป็นกลุ่มสวยงามมาก
                                                    มีกลีบดอก 5 กลีบ มีหลายลักษณะ  บางชนิดกลีบเวียนกัน  บางชนิดกลีบดอกเรียงกัน
                                                    บางชนิดปลายกลีบดอกแหลม  บางชนิดปลายกลีบดอกมน มากมายหลายสี 
                                                    บางต้นอาจมีดอกมีสีเดียว เช่น ขาว แดง  ชมพู                                               
                          ผล                     ผลจะออกเป็นฝักคู่สีน้ำตาล
                          ด้านภูมิทัศน์      นิยมใช้กันมากในวงการสปา

วันอาทิตย์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2556

ผู้นำประเทศลาว

ท่าน จูมมะลี ไซยะสอน 
ประธานประเทศลาว คนที่ 6 
อยู่ในวาระ 
เริ่มดำรงตำแหน่ง 
8 มิถุนายน พ.ศ. 2549